วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Legato ทีละ 2 สายกับสเกลเพนทาโทนิคในแนวนอน

Legato ทีละ 2 สายกับสเกลเพนทาโทนิคในแนวนอน


      แบบฝึกหัดบทนี้น่าสนใจมากนะครับ เรามักจะพบเห็นบ่อยมากในเพลง Rock จุดประสงค์ของแบบฝึกหัดนี้เพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถมองสเกลในแนวนอนอย่างคล่องแคล่ว ทั้งหมดสร้างจากเพนทาโทนิค(Pentatonic)เท่านั้นเองน่ะครับ(A ไมเนอร์เพนทาโทนิค หรือ C เมเจอร์เพนทาโทนิค)
A ไมเนอร์เพนทาโทนิค A,C,D,E,G,A
C เมเจอร์เพนพาโทนิค  C,D,E,G,A,C,
     จริงๆแล้วโน้ตทุกตัวเหมือนกันโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ว่าอยู่ที่ปัจจัยหลายๆอย่างมีเหตุทำให้เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น คอร์ด,การเลือกโน้ตในสเกล, ในตัวอย่างนี้เป็นได้ทั้ง A ไมเนอร์เพนทาโทนิค และ C เมเจอร์เพนพาโทนิค นะครับ



Legato เทคนิค บนจังหวะ 4 พยางค์

Legato เทคนิค บนจังหวะ 4 พยางค์


  บทเรียนอยู่ในสเกล C เนเชอรัลไมเนอร์สเกล โดยเริ่มจากโน้ตตัวที่ของสเกลคือตัว G นะครับ บทเรียนนี้จะดีดเพียงโน้ตตัวแรกเท่านั้นครับ ตัวอื่นๆจะใช้เทคนิคเลกาโต้ไปตลอดจนจบเลยนะครับ


วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Arpeggio Am7(อาร์เพจจิโอ)

Arpeggio Am7(อาร์เพจจิโอ)

    Arpeggio(อาร์เพจจิโอ)หรือแปลเป็นไทยก็คือการกระจายกลุ่มโน้ตในคอร์ดซึ่งจะมีโน้ต 3 ตัวขึ้นไปเหมือนกันกับคอร์ด แต่ว่าเนื่องจากไม่ได้เล่นพร้อมกันทั้งหมดในเวลาเดียวจึงเรียกว่า Arpeggio

    Am7(A ไมเนอร์เซเว่นอาร์เพจจิโอ)ซึ่งประกอบด้วยโน้ต 4 ตัวดังนี้ A,C,E,G,



วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Legato เทคนิคบนจังหวะโน้ต 5 พยางค์


Legato เทคนิคบนจังหวะโน้ต 5 พยางค์

เทคนิค legato(เลกาโต้)ตบสาย + เกี่ยวสาย = เลกาโต้ เป็นหนึ่งในเทคนิดที่มือกีตาร์ขาดไม่ได้ แม้กระทั่งมือกีตาร์อย่าง Steve Vai หรือ Joe Satriani ในกันอย่างกระหน่ำในทุกๆเพลงก็ว่าได้ เป็นเทคนิคที่ทำให้เสียงต่อเนื่องลื่นไหลอีกทั้งยังเป็นเทคนิคที่เสริมสร้างความรวดเร็วในการเล่นกีตาร์อีกด้วย

ในตัวอย่างนี้ให้ผู้เล่นดีดแค่โน้ตเพียงตัวแรกเท่านั้นจากจะเป็นการ Hammer-on , pull off ทั้งสิ้นยกเว่นจุดที่เปลี่ยน Position ระหว่างโน้ต 5 ตัว จะใช้เทคนิค 
slide ซึ่งก็จะไม่ดีดอีกความเคย

บทนี้เป็นตัวอย่างที่อยู่ในสเกล C ไมเนอร์เท่านั้นนะครับ และตัวอย่างก็เพียง 2 เส้นกีตาร์เท่านั้นเองเพื่อให้มือกีตาร์ทั้งหลายหลุดจากสเกลในแนวตั้ง ฝึกให้มองเห็นสเกลในแนวนอนบ้าง 

C ไมเนอร์สเกล C,D,Eb,F,G,Ab,Bb,C,

เพื่อนๆพยายามดูวีดีโอประกอบการฝึกไปด้วยนะครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนการสอนกีตาร์



คอร์ดที่คนนิยมใช้ผิดกัน เช่น เพลง ฤดูร้อน,ไกลแค่ไหนคือใกล้

คอร์ดที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกัน เช่น เพลง ฤดูร้อน,ไกลแค่ไหนคือใกล้


       ที่พบเห็นกันอยู่้บ่อยๆกับเพลงประเภทที่มีคอร์ด D/F#(D on F#) หลายคงมีข้อสงสัยว่ามันคืออะไร? แล้วเล่นยังไง? แล้วเล่นคอร์ด G เฉยๆได้มั้ยวันนี้ผมจะมาอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ
      คอร์ดที่เขียนด้วยคอร์ด นึง แต่ / คั่นด้วยอีกตัวหมา่ยความว่า เล่นคอร์ดที่ตัวหน้า แต่เล่นโน้ตเบสที่ตัวหลัง เช่น E/G# หมายความว่า เล่นคอร์ด E แต่เล่นเบสด้วย G#
      คอร์ดประเภทนี้้มักพบในคอร์ดที่ 5 ของคีย์เพลงนั้นๆ เช่นยกตัวอย่างเพลง
ฤดูร้อน ของวง Paradox ละกันนะครับ  เพลงนี้เป็นคีย์ A นะครับ หมายความว่าคอร์ด E เป็นคอร์ดที่ 5 ของคีย์ A นะครับ

1.ตัวอย่าง คอร์ด ฤดูร้อน

A    E/G#   F#m  E/G#       
บ่อยครั้งที่ใจ   เดินออกไปไม่มองข้าง
A    E/G#   F#m   E/G# 
ทางหยดน้ำตาอยู่กับการไม่มีค่า

 D      C#m      Bm    A
*ฉันเดินหลงทางอยู่กลางผู้คน สับสนวุ่นวาย
 D    C#m   Bm     E
หันไปหาเธอไม่เจอผู้ใด เมื่อเธอมาจากฉันไป

   A     E/G#      F#m    E        D
** ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย ฤดูร้อน ไม่มีเธอเหมือนก่อน
   C#m    Bm  E
เหมือนเก่า ขาดเธอ

   ในกรณีนี้หมายความว่าเล่นคอร์ด E นะครับ แต่ตำแหน่งเบสของวงจะเล่นโน้ตตัว G# ในคอร์ท E ไปพร้อมกับมือกีตาร์ หรือมือกีตาร์เองอาจจะจับคอร์ดที่ให้โน้ตตัวต่ำสุดเป็นโน้ต G# ก็ได้
 ไม่ใช่อย่างที่หลายๆคนเข้าใจผิดกันว่าคอร์ด E/G#  บางคนก็เล่นเป็นคอร์ด G#,G#m,แม้แต่คอร์ดของเว็บดังๆหลายๆเว็บก็ยังเขียนผิดอยู่เหมือนกัน

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Sweep picking จาก Em7 (ในจังหวะ 5/4)

Sweep picking จาก Em7 (ในจังหวะ 5/4)


    ลูกฝึกการดีดกวาดหรือเรียกว่า Sweep picking ในบทนี้จะอยู่ในจังหวะ 5/4 หมายความว่าในหนึ่งห้องจะมี ตัวดำ 5 ตัว หรือ ห้าจังหวะใหญ่ๆนั่นเอง โน้ตใน 3 กลุ่มแรกจะสร้า้งด้วยโน้ต 4 พยางค์ต่อ 1 จังหวะ ส่วนอีก 2 กลุ่มหลัง จะสร้างจากโน้ต 6 พยางค์ เป็น Lick ที่สามารถเล่นด้วยความเร็วสูงมาก 
ขอให้สนุกกับการเรียนการสอนกีตาร์นะครับ


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีการจับคอร์ด Cmaj7 ในรูปแบบต่างๆ

วิธีการจับคอร์ด Cmaj7 ในรูปแบบต่างๆ


   ก่อนอื่นต้องขออธิบายกันอย่างคร่าวๆละกันนะครับว่าคอร์ด M7,maj7,เป็นคอร์ดชนิดเดียวกัน เป็นคอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ต 4 ตัวเท่านั้น คอร์ดชนิดนี้อาจไปปรากฎตัวอยู่ใน คอร์ดฟังชั่นที่ 1 หรือ 4 ในคีย์เมเจอร์ก็ได้ทั้ง 2 กรณี 
ในตัวอย่างนี้ผมยกตัวอย่างคอร์ด Cmaj7,CM7, นะครับ ซึ่งคอร์ด Cmaj7(ใช้ตัวนี้ละกันนะครับเพื่อนๆน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตาอยู่) ประกอบด้วยโน้ต C,E,G,B,ครับ

ถ้าคอร์ด Cmaj7 มาอยู่ในคีย์ C ก็จะทำหน้าที่เป็นคอร์ด I ของคีย์ C
ถ้าคอร์ด Cmaj7 มาอยู่ในคีย์ G ก็จะทำหน้าที่เป็นคอร์ด IV ของคีย์ G

ขอให้่สนุกกับการเรียนการสอนกีตาร์นะครับ


แบบฝึกหัดดีๆ จาก เสกล Am pentatonic

แบบฝึกหัดดีๆ จาก เสกล Am pentatonic

   แบบฝึกหัดนี้ว่าด้วยเรื่อง 2 เรื่องใหญ่ๆละกันนะครับ เรื่องแรกของสเกล
สเกล A ไมเนอร์เพนทาโทนิค ประกอบด้วย A,C,D,E,G มีแค่ 5 ตัวเท่านั้นเองครับ เรื่องต่อไปขอเน้นย้ำในเรื่องการเกี่ยวสายนะครับ(Pull-Off) ไม่ใช่ว่าดีดทุกตัวหรือไม่เกี่ยวสายผิดนะครับ แค่ในตัวอย่างนี้เป็นเทคนี้การเล่นเร็วในแบบนี้เท่านั้นเองนะครับ



เปรียบเทียบความต่างของ เมเจอร์,เนเจอรัลไมเนอร์,ฮาร์โมนิคไมเนอร์,เมโลดิคไมเนอร์

เปรียบเทียบความต่างของ เมเจอร์,เนเจอรัลไมเนอร์,ฮาร์โมนิคไมเนอร์,เมโลดิคไมเนอร์



ผมจะขอยกตัวอย่าง Root 2  ตัวละกันนะครับตัวอย่างแรกขอยกตัวอย่าง Root C

C เมเจอร์           C,D,E,F,G,A,B,C
C เนเจอรัลไมเนอร์    C,D,Eb,F,G,Ab,Bb,C
C ฮาร์โมนิคไมเนอร์    C,D,Eb,F,G,Ab,B,C
C เมโลดิคไมเนอร์     C,D,Eb,F,G,A,B,C

ก็ลองเปรียบเทียบดูกันเอาเองนะครับ 

ตัวอย่างที่ 2 ลองมาดูใน Root A บ้างนะครับ


A เมเจอร์          A,B,C#,D,E,F#,G#,A
A เนเจอรัลไมเนอร์    A,B,C,D,E,F,G,A,
A ฮาร์โมนิคไมเนอร์   A,B,C,D,E,F,G#,A,
A เมโลดิคไมเนอร์    A,B,C#,D,E,F#,G#,A

C เมโลดิคไมเนอร์เสกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

C เมโลดิคไมเนอร์เสกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

   มาถึงเสกลเมโลดิคไมเนอร์กันแล้วนะครับ ในเสกลเมโลดิคไมเนอร์ ในที่นี้ผมขออ้างอิงจากเมเจอร์เสกลละกัน อันที่จริงแล้วเพื่อนสามารถอิงจากเสกลอะไรก็ได้ขอให้จำโครงสร้างของแต่ละตัวให้แม่นเท่านั้นเอง

C เมเจอร์เสกล ประกอบด้วย C,D,E,F,G,A,B,C
C เมโลดิคไมเนอร์ประกอบด้วย C,D,Eb,F,G,A,B,C

เห็นมั้ยครับความแตกต่างแค่หนึ่งตัวเท่านั้นเองแค่ลดเสียงตัวที่ 3 จากเมเจอร์ลงไปครึ่งเสียงเท่านั้นเอง
ลองมาคิดจากฮาร์โมนิคไมเนอร์เสกลดูบ้างมั้ยล่ะครับ

C ฮาร์โมนิคไมเนอร์เสกล C,D,Eb,F,G,Ab,B,C,
C เมโลดิคไมเนอร์ประกอบด้วย C,D,Eb,F,G,A,B,C

ถ้าคิดจากฮาร์โมนิคไมเนอร์ก็ปรับตัวที่ 7 เพิ่มขึ้นครึ่งเสียงเท่านั้นเอง



Lick จาก คอร์ด i7 - ii7-V7 - i7

Lick จาก คอร์ด i7-ii7 - V7 - i7

Lick จากคอร์ด Gm7-Am7b5-D7b5-Gm7 เป็นลิคทางคีย์ไมเนอร์ของคีย์ G ไมเนอร์

Gm7 ทำหน้าที่เป็นคอร์ดที่ 1 ในคีย์ G ไมเนอร์
Am7b5 ทำหน้าที่เป็นคอร์ดที่ 2 ในคีย์ G ไมเนอร์
D7b5 ทำหน้าที่เป็นคอร์ดที่ 5 ในคีย์ G ไมเนอร์

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สอนกีตาร์ แตกต่างที่เหมือนกัน Getsonova


แทป กีตาร์เพลง แตกต่างที่เหมือนกัน - Getsunova

    เพื่อนๆอย่าลืมดูเครื่องหมาย P.m นะครับ ในที่นี้หมายความว่าเล่นเสียงบอดนะครับ โดยวีธีการคือใช้มือขวา สันมือขวาอุดบริเวณสายกีตาร์ที่ถัดมาจากตัวสะพานรองสายนะครับ ต้องอาศัยการฟังเป็นหลักแล้วครับ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอุดมากอุดน้อยแค่ไหน ขอให้สนุกกับการเรียนการสอนกีตาร์นะครับ


วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด C ฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

แบบฝึกหัด C ฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

     แบบฝึกหัดบทนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องของเสกล 3 โน้ต 1 สายแต่ว่าอยู่ในเสกล C ฮาร์โมนิคไมเนอร์ซึ่งถ้าเทียบสเกล C ไมเนอร์สเกลกับ C ฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกลจะแตกต่างกันแค่เพียงโน้ตตัวเดียว
เปรียบเทียบระหว่าง
       C ไมเนอร์สเกล C,D,Eb,F,G,Ab,Bb,C
C ฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกล  C,D,Eb,F,G,Ab,B,C 

ต่างเพียงแค่โน้ตตัวที่ 7 เพียงตัวเดียว เพื่อนๆสามารถเอาไมเนอร์สเกลไปปรับเปลี่ยนเป็น ฮาร์โมนิคไมเนอร์สเกลได้ด้วยตัวเองนะครับ





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด C ไมเนอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

แบบฝึกหัด C ไมเนอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

    อีก 1 ตัวอย่างของการไล่ C ไมเนอร์สเกล(C,D,Eb,F,G,Ab,Bb,C,)ให้ได้ทั่วทุกตำแหน่งของคอกีตาร์ จะเน้นไปในเรื่องของความเป็นไปได้ในการเล่นโน้ตใน C ไมเนอร์เสกล

หมายเหตุ แบบฝึกหัดนี้ไม่ได้เริ่มจากโน้ต Root(C)


สอนกีตาร์


สอนกีตาร์

แบบฝึกหัด C เมเจอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย

แบบฝึกหัด C เมเจอร์สเกล 3 โน้ตต่อ 1 สาย


    นี่เป็นเป็นอีกตัวอย่างนึงไว้สำหรับคนที่ยังไล่ C เมเจอร์ได้ไม่คล่องหรืองงๆว่าจะเล่นตำแหน่งไหนดีนี่ก็คงเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างนึง
    C เมเจอร์สเกลโดยไล่ 3 โน้ตต่อ 1 สาย เพื่อให้เกิดความทั่วถึงของสเกลในทุกตำแหน่งของคอกีตาร์
สอนกีตาร์


สอนกีตาร์

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Lick จาก สเกล A Bebop Dominant


Lick จาก เสกล A Bebop Dominant 


โหมดที่ 5 ของคีย์เมเจอร์ก็คือ Mixolydian โหมดนั่นเอง
   Lick นี้สร้างจากแนวคิดของสุ้มเสียงของเสกล A Mixolydian(A,B,C#,D,E,F#,G,A,
ซึ่งถ้าคิดอย่างง่ายๆก็คือเสกล D เมเจอร์นั่นแหละครับ (D,E,F#,G,A,B,C#,D), เพียงแค่เป็นสเกล D เมเจอร์ที่้เริ่มจากตัว A ก่อนเท่านั้นเอง
   เนื่องจากว่า Lick นี้จะมีโน้ตประหลาดเพิ่มเข้ามาอีก 1 ตัวนั่นก็คือ G# 
ถามว่า G# ได้มาอย่างไร  G# นั้นได้มาจากเสกล A Bebop
Dominant(D,E,F#,G,G#,A,B,C#,D) ซึ่งโน้ต G# ในที่นี้ทำหน้าที่โครติกเชื่อมระหว่างโน้ต G ไป A นั่นเองครับ 



เสกล Am pentatonic โดยใช้เทคนิค Tapping

สอนกีตาร์ เสกล Am pentatonic โดยใช้เทคนิค Tapping

   เสกล A minor pentatonic ซึ่งมีเพียงแค่ 5 โน้ตเท่านั้น (A,C,D,E,G,)ในลิคนี้จะไม่มีการใช้ปิ๊คใดๆทั้งสิ้น ยกเว้นโน้ตตัวแรกของ Lick เท่านั้นเพื่อให้โน้ตตัวแรกดังออกมาชัดเจน
ต่อจากนั้นจะเป็นวิธีการ Hammer-on,Pull-Off,Tapping,เท่านั้น


Lick ที่สร้างจาก Blues เสกล และ Dorian เสกล

Lick ที่สร้างจาก Blues เสกล และ Dorian เสกล


    Lick ที่สร้างจาก A Blues เสกล (A,C,D,D#,E,G,A,)  D# โน้ตบลู หรือเรียกว่า b5 เป็นเมนหลักของ lick นี้ แต่ว่าลองสังเกตุในจังหวะที่ 2 ของ Lick หรือ กลุ่มโน้ตที่ 2 ก็จะมีโน้ต F# เพิ่มมาด้วยในทีนี้ ซึ่งโน้ต F# ก็คือจะมาจาก A Dorian เสกลนั่นเอง
A Dorian เสกล ประกอบไปด้วยโน้ต (A,B,C,D,E,F#,G,A,)
    Lick นี้กลุ่มของจังหวะจะเป็นโน้ต 7 พยางค์ ซึ่งจังหวะจะตกที่นิ้วชี้พอดี


วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Lick ที่สร้างจาก Am เสกล ตัดตัวที่ 6 ออก (F)


Lick ที่สร้างจาก Am เสกล ตัดตัวที่ 6 ออก (F)


C Major สเกล ตัดโน้ตตัวที่ 4 ของเสกลออก

C Major สเกล ตัดโน้ตตัวที่ 4 ของเสกลออก

  แบบฝึกหัดนี้คงเป็นตัวอย่างในเรื่องการตัด avoid notes อาจแปลเป็นไทยแบบตรงตัวก็คือ โน้ตต้องห้าม นั่นเองนะครับ ก่อนอื่นมาพูดถึงเรื่องโครงสร้างกันก่อนละกันนะครับ
C Major สเกล ประกอบด้วยโน้ต C,D,E,F,G,A,B,C,
C Major สเกล(ตัดโน้ตตัวที่ 4 ออก โน้ต F ) ก็จะเหลือ C,D,E,G,A,B,C,

  ถามว่าทำไมต้องตัดตัวที่ 4 ออก เพราะว่ามันเป็นโน้ต avoid ในหลายๆคอร์ดของคีย์ C(ยกตัวอย่างจากคีย์ C)
เช่นคอร์ด C,Em,Am, 3 คอร์ดนี้ถ้าเล่นโน้ต F จะเกิดขั้นคู่เสียงที่ชิดกัน

ตัวอย่างจากคอร์ด C ประกอบด้วยโน้ต C,E,G,  
ตัวอย่างจากคอร์ด Em ประกอบด้วยโน้ต E,G,B,
ตัวอย่างจากคอร์ด Am ประกอบด้วยโน้ต A,C,E,

  3 คอร์ดในตัวอย่างนี้ล้วนมีโน้ต E เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ด ดังนั้นถ้าเกิดเราเล่นโน้ต F โน้ตตัวนี้จะไปชิดกับโน้ต E ซึ่งเกิดเสียงกระด้างขึ้นมาอย่างแน่นอน ดังนั้นการตัดโน้ต F หรือโน้ตตัวที่ 4 ออกจากเมเจอร์สเกลน่าจะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เพิ่มโอกาศในการโซโล่ของคุณให้มีคุณภาพอย่างมากขึ้นแน่นอน


Sweep picking ในคอร์ด Dm7,Gm7,

Sweep picking ในคอร์ด Dm7,Gm7,

   เทคนิคการดีดกวาดโดยสร้างจากคอร์ดเพียง 2 คอร์ดเท่านั้น Dm7,Gm7,
   ซึ่งในห้องที่ 1 สร้างจาก Dm7 คอร์ดล้วน ประกอบด้วยโน้ต D,F,A,C,เท่านั้น แต่พอเข้ามาห้องที่ 2 ก็ยังคงเป็นคอร์ด Dm7 อยู่แต่เพียงแค่เพิ่มโน้ตมาอีกหนึ่งตัวซึ่งก็คือโน้ตตัว E นั่นเองในห้องที่ 2 ก็อาจจะเรียกว่าได้ Dm9 หรือจะเรียกว่าคอร์ด Fmaj7 ก็ได้ซึ่ง 2 คอร์ดนี้มีใช้โน้ตร่วมกันถึง 4 ตัว
 -คอร์ด Dm9 ประกอบด้วย   D,F,A,C,E,
 -คอร์ด Fmaj7 ประกอบด้วย F,A,C,E,  (หมายเหตุ)โน้ตใช้ร่วมกัน
พอมาเข้าห้องที่ 3 ก็ใช้เทคนิคเดียวกันกับ 2 ห้องแีรกแค่เปลี่ยนไปเป็นคอร์ด Gm7 นั่นเอง
 คอร์ด Gm7 ประกอบด้วย G,Bb,D,F, ห้องที่ 3 ก็ยังคงเล่นแค่ 4 โน้ตในคอร์ด Gm7 พอมาเข้าห้องที่ 4 ก็จะกลายเป็น Gm9 หรือ Bbmaj7 นั่นเองใช้เทคนิคเดียวกับ 2 ห้องแรก


วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สอน Lick ที่สร้างจากเสกล Am Blues

lick กีตาร์ที่สร้างจากเสกล Am Blues โดยมีโ้น้ต A C D   D#(Eb) E G A ทั้งหมด 5 ตัวเพิ่มตัวที่เป็นโน้ตบลูเข้าไป D#(Eb) ที่เรียกว่าโน้ต b5  อย่าลืมเครื่องหมายเกี่ยวสายด้วยนะครับ


ในส่วนที่ต้องระวังใน Lick ก็คงต้องต้องดูในส่วนที่เป็น เครื่องหมาย 3 พยางค์และเป็นการ Hammer-on Pull-off ด้วย และอีกทั้งเครื่องหมายหยุดโน้ตเขบ็ต 2ชั้น

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Interval Diatonic in C Major scale

Interval Diatonic in C Major scale


Lick จาก C7 Arpeggio

Lick จาก C7 Arpeggio


Lick จาก Arpeggio(กลุ่มคอร์ด) ของ C7 ล้วนๆ ซึ่งประกอบด้วยโน้ต (C,E,G,Bb,)ซึ่งก็ถือว่าเป็นคอร์ดที่ 5 ของคีย์ F เมเจอร์นั่นเอง มีเพียงแค่ 4 โน้ตเท่าันั้นในตัวอย่างของ Lick นี้ แต่เมื่อเราจับมาเรียงตัวกันแล้วทำการซีเคว้นโน้ตไปทีละ 4 โน้ตก็ยิ่งดูซับซ้อนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น




ตัวอย่างที่ 2 ก็จะเหมือนกับตัวอย่างแรกทุกอย่างเพียงแค่ไล่เสียงกลับจากสูงไปต่ำเท่านั้นเองอย่าลืมดูเครื่องหมายเกี่ยวสายด้วยนะครับ







Diatonic scale ใน C เมเจอร์


Diatonic scale ใน C เมเจอร์















Lick จาก Arpeggio Amaj7 B7 C#m7 ตอนที่ 2

Lick จาก Arpeggio Amaj7 B7 C#m7 ตอนที่ 2


Lick จาก Arpeggio Amaj7,B7,C#m7


  Lick จาก Arpeggio Amaj7 B7 C#m7 

คลังบทความของบล็อก